หัวข้อ   “วิสาขบูชา” กับการเยียวยาประเทศไทย
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจพบคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 80.6 ระบุเหตุการณ์
ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเกิดความกลัว เครียด วิตกกังวล รู้สึกว่าชีวิต
ไม่ปลอดภัย และต้องระวังตัวมากขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่ามีรายได้ลดลงและเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง
                 ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 79.0 เชื่อว่า หากทุกฝ่ายยึดถือหลักธรรมคำสอนของศาสนามาเป็นแนวทาง
ในการทำงานและดำเนินชีวิตจะช่วยเยียวยาแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ โดยคาดหวังให้สถาบัน
ครอบครัวเป็นผู้ทำหน้าที่ปลูกฝังธรรมะแก่ลูกหลานมากที่สุด
                 สำหรับหลักธรรมะที่ต้องการให้รัฐบาลยึดถือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศมากที่สุดในขณะนี้คือ
“ยุติธรรม โปร่งใส” ส่วนหลักธรรมะที่ต้องการให้ประชาชนคนไทยยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากที่สุดในขณะนี้
คือ “สามัคคีปรองดอง”
                 สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรเนื่องในวันวิสาขบูชาในปีนี้ อันดับแรกคือ ขอให้ประเทศไทย
มีความสงบสุข ผ่านพ้นวิกฤติโดยเร็ว และไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้อีก
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่
                 อย่างไร พบว่า

 
ร้อยละ
ส่งผลกระทบ
โดยเรื่องที่ส่งผลกระทบ คือ
     - ทำให้เกิดความกลัว เครียด และวิตกกังวล ร้อยละ 21.3
     - ทำให้รู้สึกว่าชีวิตไม่ปลอดภัย ต้องระวังตัว
       มากขึ้น
ร้อยละ 21.3
     - ทำให้มีรายได้ลดลง เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง ร้อยละ 20.9
     - ทำให้ไม่อยากอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
ร้อยละ 7.7
     - อื่นๆ อาทิ รถติด เดินทางไม่สะดวก และ โดน
       จำกัดเวลาจากการประกาศเคอร์ฟิว
ร้อยละ 9.4
80.6
ไม่ส่งผลกระทบ
19.4
 
 
             2. หากทุกฝ่ายยึดถือหลักธรรมคำสอนของศาสนามาเป็นแนวทางในการทำงานและดำเนินชีวิต
                 จะช่วยเยียวยาแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้หรือไม่


 
ร้อยละ
เชื่อว่าสามารถช่วยเยียวยาแก้ปัญหาได้
79.0
เชื่อว่าไม่สามารถช่วยเยียวยาแก้ปัญหาได้
7.0
ไม่แน่ใจ
14.0
 
 
             3. แนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธมาใช้เยียวยาแก้ปัญหา
                 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น พบว่าคนกรุงเทพฯ เสนอแนวทางดังต่อไปนี้


 
ร้อยละ
ให้ครอบครัวปลูกฝังธรรมะให้กับลูกหลาน
22.8
ให้โรงเรียนเน้นการเรียนการสอนที่สอดแทรกธรรมะให้มากขึ้น
18.3
ให้รัฐบาลบริหารประเทศโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
17.5
ให้เครือข่ายชุมชนเพิ่มกิจกรรมทางศาสนาให้เข้าถึงคนในชุมชน
16.7
ให้สื่อมวลชนเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะและปรับวิธีการนำเสนอให้น่าสนใจ
15.0
ให้พระสงฆ์ปรับวิธีเผยแผ่หลักธรรมคำสอนให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น
9.7
 
 
             4. หลักธรรมะที่ต้องการให้รัฐบาลยึดถือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศมากที่สุดในขณะนี้ คือ

 
ร้อยละ
ยุติธรรม โปร่งใส
22.3
ซื่อสัตย์ สุจริต
19.3
สามัคคีปรองดอง
17.5
มีสติ รอบคอบ
12.2
แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
11.2
ขันติ อดทน อดกลั้น
8.9
ให้อภัย ไม่จองเวร
5.0
เมตตา กรุณา
3.6
 
 
             5. หลักธรรมะที่ต้องการให้ประชาชนคนไทยยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากที่สุด
                 ในขณะนี้ คือ


 
ร้อยละ
สามัคคีปรองดอง
37.1
ยึดทางสายกลาง
17.1
มีสติ รอบคอบ
16.8
ให้อภัย ไม่จองเวร
12.1
เมตตา กรุณา
9.4
ขันติ อดทน อดกลั้น
7.5
 
 
             6. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรเนื่องในวันวิสาขบูชาในปีนี้ (มากที่สุด 5 อันดับแรก)
                 คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
อันดับ 1 ขอให้ประเทศไทยมีความสงบสุข ผ่านพ้นวิกฤติโดยเร็ว
            และไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแบบนี้อีก
67.8
อันดับ 2 ขอให้คนไทยกลับมารักกัน ให้อภัยกันเป็นพี่เป็นน้องกันเหมือนเดิม
10.5
อันดับ 3 ขอให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข และมีสุขภาพแข็งแรง
6.3
อันดับ 4 ขอให้พระเจ้าอยู่หัวทรงหายประชวร
5.3
อันดับ 5 ขอให้เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
4.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการนำเอาหลักธรรมคำสอนทาง
พระพุทธศาสนามาเยียวยาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนสิ่งที่ตั้งใจอธิษฐาน
ขอพรเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบ
การตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,002 คน  เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.9  และเพศหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง
แน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 25 - 26 พฤษภาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 พฤษภาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
500
49.9
             หญิง
502
50.1
รวม
1,002
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
232
23.2
             26 – 35 ปี
270
26.9
             36 – 45 ปี
226
22.6
             46 ปีขึ้นไป
274
27.3
รวม
1,002
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
586
58.5
             ปริญญาตรี
336
33.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
80
8.0
รวม
1,002
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
128
12.8
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
218
21.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
260
26.0
             รับจ้างทั่วไป
124
12.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
108
10.8
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
164
16.4
รวม
1,002
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776